ยินดีต้อนรับค่ะ

ยินดีต้อนรับค่ะ

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ


วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558





นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ


วัตกรรมเพื่อการศึกษา


          1. นวัตกรรมการจัดการทางการศึกษา

          2. แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

การจัดการทางการศึกษา  มี  5  ด้าน  ประกอบด้วย





          1.  นวัตกรรมการสอนแบบการใช้โปรแกรม
          2.  นวัตกรรมการเรียนการสอน
          3. นวัตกรรมสื่อการสอน
          4.  นวัตกรรมการประเมินผล
          5.  นวัตกรรมการบริหารจัดการ


นวัตกรรมการสอนแบบการใช้โปรแกรม  มีดังต่อไปนี้



            1.  หลักสูตรบูรณาการ  เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ  โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพสังคม
2.  หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมลูกเสือ - ยุวกาชาด  กิจกรรมชุมนุม  เพื่อแยกกลุ่มของผู้เรียนที่มีความต้องการเหมือนกัน
4.  หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น
นวัตกรรมการเรียนการสอน








การสื่อสารกับการเรียนการสอน



หลังจากที่ได้เจอภาพ ปิรามิดแห่งความสำเร็จแล้ว จึงขอสรุป ย่อๆ ปริรามิดแห่งการเรียนรู้ ดังนี้ นะค
1.             การเรียนในห้องเรียน (Lecture) นั่งฟังบรรยาย จะจำได้น้อยกว่า 10%
2.             การอ่านด้วยตัวเอง (Reading) จะจำได้เพิ่มขึ้นเป็น 10%
3.             การฟังและได้เห็น (Audiovisual) เช่น การดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ จำได้ 20%
4.             การได้เห็นตัวอย่าง (Demonstration) จะช่วยให้จำได้ 30%
5.             การได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกัน (Discussion) เช่น การพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในกลุ่ม จะช่วยให้จำได้       ถึง 50%
6.             การได้ทดลองปฏิบัติเอง (Practice doing) จะจำได้ถึง 75%
7.             การได้สอนผู้อื่น (Teaching) เช่น การติว หรือการสอน จะช่วยให้จำได้90%




ที่มาบทความ : หนังสือสารัตถะจิตวิทยาการศึกษา รศ.ดร.ประสาท อิศรปรีดา


https://youtu.be/RHkuRHn_pdQhttps://youtu.be/RHkuRHn_pdQ

วิชานวัฒกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา


สัปดาห์ที่  1 วันที่ 8 สิงหาคม  2558



องค์ประกอบของ TEACHERS


หน้าที่ความรับผิดชอบและความสามารถของครูตามรูปแบบภาษาอังกฤษ คำว่าครูคือ TEACHERS มีความหมายดังนี้
            T  =  Teaching  ครูต้องมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน รู้จักหน้าที่สอน ถ่ายทอดความรู้ ไม่เฉพาะทางวิชาการแต่รวมถึงอบรมให้มีความระลึกถึงผิดชอบชั่วดีแก่ศิษย์ให้มีปัญญาชน โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ และไม่ปิดปังอำพรางวิชาหรือมีอคติต่อผู้เรียน
          E  =  Ethics  ครูต้องมีคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูเป็นผู้มีเมตตาธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณต่อวิชาพร้อมทั้งแก่ศิษย์ โดยมีคุณธรรมจริยธรรมต่อทุกคนโดยไม่ยึดอคติของตนต่อศิษย์
          A  =  Academic  ครูต้องมีความรู้ทางวิชาการ และศึกษาให้ทันสมัยรวมถึงความจำเป็นในในเรื่องของงานวิชการพร้อมทั้งไม่ยึดติดกับองค์ความรู้ความตน แต่ต้องรับฟังความเห็นจากความรู้ของผู้อื่น เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาตนต่อไป
          C  =  Cultural Heritage ครูต้องเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิต เป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังและตระหนักรู้ซึ้งในมรดกทางวัฒนธรรมของตนเอง 
          H  =  Human Relationship ครูต้องเป็นผู้มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีดีนับได้ว่าตัวนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถใช้ชีวิตในเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างมีความสุข
          E  =  Evaluation ครูต้องวัดผล ประเมินผล หลังการเรียนการสอนอย่างเที่ยงธรรม
          R  =  Research ครูต้องหาความรู้ใหม่ๆการปรับปรุงวางแผน หาแนวทางแก้ปัญหารวมถึง การปรับปรุงการสอนให้ทันสมัยครูต้องค้นคว้าหาสิ่งใหม่ๆเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของตนกับสภาพแวดล้อมนั้นๆ โดยไม่หยุดความคิดอยู่กับที่ และพร้อมจะรับสิ่งใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็ม น่าสนใจ เช่นการทำวิจัยในชั้นเรียน การสร้างสื่อการเรียนการสอน
          S  =  Service ครูต้องมีจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการแต่รวมถึงงานต่างๆกิจกรรมอื่น ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน  เปรียบเสมือนครูคือผู้ให้บริการนักเรียนเปรียบเสมือนลูกค้าหรือผู้รับบริการ